หลังจากที่ “เดอะ พาวเวอร์” ซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ ได้มีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มนายทุนใหม่ หลังจากมีปัญหาในเรื่องของการเงิน บวกกับการบริหารทีมมาได้สักพักใหญ่ จนทำให้มีการเปลี่ยนชื่อสโมสร มาเป็นจัมปาศรี ยูไนเต็ด รวมไปถึงโลโก้ทีม และสนามเหย้าที่ใช้ในปีหน้านั้น วันนี้ฟุตบอลไทรบ์จึงได้รวบรวม สโมสรในไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย จนบ้างครั้งแฟนบอลอาจจะลืมไปแล้วว่ามีการเปลี่ยนอะไรไปบ้าง มาไว้ที่นี่
กดลูกศรตรงมุมขวาเพื่อติดตามอ่านต่อไป
สโมสรฟุตบอลยาสูบ
ทีมฟุตบอลเก่าแก่อีกทีมหนึ่งในวงการลูกหนังไทย ถ้าย้อนไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยาสูบถือเป็นสโมสรชั้นนำเลยก็ว่าได้ กับการคว้าแชมป์ลีกสูงสุดมาครองในฤดูกาล 2001/02 และหลังจากนั้นทีมมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย โดยเฉพาะชื่อทีม ที่เปลี่ยนมาใช้ ทีทีเอ็ม และตามด้วยจังหวัดที่ใช้เป็นรังเหย้า ไม่ว่าจะเป็น ทีทีเอ็ม พิจิตร, ทีทีเอ็ม เชียงใหม่, ทีทีเอ็ม เชียงใหม่ และมาเป็นทีทีเอ็ม ลพบุรี ก่อนจะ กลับมาใช้ชื่อ ทีทีเอ็ม เอฟซี
แต่แล้วในฤดูกาล 2557 ยาสูบได้ไปจับมือรวมทีมกับศุลกากร ทำห้ต้องเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น ทีมสโมสรยาสูบ ศุลกากร ก่อนจะต้องตกชั้นไปเล่นในลีกรากหญ้า สุดท้าย ทีมยาสูบก็เหลือเพียงแค่ตำนานเนื่องจากพักทีมการแข่งขัน
สโมสรสมุทรสงคราม บีทียู เอฟซี
เป็นอีกทีมที่เอ่ยชื่อก็ยังอยู่ในความทรงจำไม่ว่าจะเป็นสไตล์การเล่น รวมไปถึงกลุ่มแฟนบอลที่มีการเชียร์เป็นเอกลักษณ์อย่าง “ปลาทูคะนอง” แม้จะคงชื่อความเป็นสมุทรสงครามไว้ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตราสัญลักษณ์สโมสร รวมไปถึงชื่อทีมที่มีการเปลี่ยนแปลงตามผู้สนับสนุนหลัก ไม่ว่าจะเป็นเอสซีจี สมุทรสงคราม, เจนิฟู๊ด สมุทรสงคราม, สมุทรสงคราม อาร์แอร์ไลน์ และล่าสุด สมุทรสงคราม บีทียู เอฟซี
ปัจจุบัน สมุทรสงคราม ถูกลดชั้นไปเล่นในศึกไทยลีก 4 เนื่องจากไม่ส่งคลับไลเซนซิ่งตามที่กำหนด
สโมสรทีโอที เอสซี
อีกทีมในตำนานวงการลูกหนังบ้านเรา ที่ในช่วงรุ่งเรืองเรียกว่ามีการเปลี่ยนแปลงแทบจะทุกปี จนแฟนคลับตามกันไม่ทัน โดยนับย้อนไป ชื่อแรกที่รู้จักกันนั้น ได้แก่ทีมองค์การโทรศัพท์ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นทีมทีโอที เอฟซี ต่อมาในยุคของโค้ชต้อม ณรงค์ สุวรรณโชติ คุมทัพนั้น ได้มีกลุ่มทุนนอกเข้ามาดูแล แถมมีการเปลี่ยนแปลงชื่อทีมเป็น ทีโอที แคท เอฟซี พร้อมกับโลโก้สโมสร
ทว่าในปี 2554 ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เนื่องจากทีโอทีดึงกลับมาทำเองอีกครั้ง คราวนี้เปลี่ยนเป็นใช้ชื่อ ทีโอที เอสซี พร้อมกับเปลี่ยนโลโก้อีกครั้ง แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีการปรับอีกครั้งจากโลโก้ที่รูปโทรศัพท์เป็นสีดำเป็นสีทอง พร้อมกับออกแบบใหม่ และใช้มาจนถึงปี 2558
ในส่วนสนามเหย้านั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยเช่นกัน โดยเริ่มต้นจากการใช้สนามน้ำแก้จน ภายในกรมชลประทาน ปากเกร็ดเป็นรังเหย้า ก่อนจะโยกไปสนามกลีบบัว จ.กาญจนบุรี ทว่าไม่นานก็เกิดปัญหา เลยต้องกลับมาเช่าสนามเอสซีจี สเตเดียม เป็นรังเหย้าชั่วคราว ก่อนจะมาใช้สนามทีโอที สเตเดียม
และในฤดูกาล 2558 ทัพฮัลโหลมีปัญหาในเรื่องของการทำทีมและเปลี่ยนแปลงสปอนเซอร์หลักหลายเจ้า ก่อนที่สุดท้ายจะจบฤดูกาลด้วยการตกชั้นรั้งท้ายของตารางคะแนน และจบด้วยการยุบสโมสร
สโมสรบีบีซียู เอฟซี
“เดอะบิ๊กแบง” เริ่มต้นด้วยการส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในปี 2519 ภายใต้ชื่อ “ทีมฟุตบอลบางเตย” ก่อนจะไต่เต้าในบอลถ้วยพระราชทานจนเป็นที่โด่งดังในนามว่า “ฟุตบอลสินธนา” ที่สร้างนักเตะจนโด่งดังมาประดับวงการลูกหนังไทยมากมาย
หลังจากนั้นในปี 2547 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ยื่นมือขอเข้ามาเป็นพันธมิตรลูกหนัง ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงชื่ออีกครั้งเป็น “จุฬา-สินธนา ยูไนเต็ด” ได้เปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์เป็นรูปพระเกี้ยว ต่อมาในปี 2551 ได้มีการจดทะเบียนเป็นรูปแบบบริษัท ซึ่งก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อสโมสรและโลโก้ทีมอีกครั้ง เป็น จุฬา ยูไนเต็ด
ทว่าหลังจากนั้นอีก 3 ปี ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง จากการเปลี่ยนชื่อและตราสโมสรเป็นทีม “บีบีซียู เอฟซี” และใช้มาอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่ในเดือนเมษายนที่ผ่าน จะทำการยุบสโมสรเป็นที่เรียบร้อยเมื่อกลางฤดูกาล 2017 ที่ผ่านมา
สโมสรศรีราชา บ้านบึง
อีกทีมที่อยู่ในจ.ชลบุรี ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของจังหวัดลูกหนังไทย อย่างทีมศรีราชา เอฟซี ถ้าย้อนไปร่วมสิบปี ถือเป็นอีกสโมสรที่โด่งดังและขึ้นในแถบตะวันออก พร้อมกับทีมโค้ก บางพระ และชลบุรี เอฟซี
เริ่มต้นจากการสโมสรชลบุรี-สันนิบาตฯ สมุทรปราการ มาทำทีมใหม่โดยใช้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอลศรีราชา-สันนิบาตฯ ซึ่งนักเตะส่วนใหญ่ส่วนใหญ่มาจาก โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา, โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ชลบุรี และ โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี
หลังจากนั้นในฤดูกาล 2552 ก็ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุด พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็นทีมศรีราชา เอฟซี ในส่วนของผลงานก็ยังคงลุ่มๆดอนๆ ร่วงไปเล่นในลีกรอง แต่ก็ยังกลับมาเล่นในไทยลีกได้ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงชื่อสโมสรอีกครั้งเป็นสโมสรศรีราชา บ้านบึง
ทว่าหลังจากนั้นก็ประสบปัญหามากมายจนต้องร่วงไปเล่นในดิวิชั่น 2 สุดท้ายก็ได้โอนสิทธิ์ให้ทีมทวีวัฒนา เอฟซี ลงเล่นแทน ปิดฉากทีมศรีราชา เอฟซี เป็นที่เรียบร้อย
สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ทีมมหาลูกหนังในไทยที่มี เนวิน ชิดชอบนั่งแท่นนายใหญ่คุมทีมนั้น เป็นอีกทีมที่มีการเปลี่ยนแปลงพอสมควรเช่นกัน ต้องนับย้อนไปเมื่อปี 2552 เมื่อเนวิน ได้ตัดสินใจควักเงินลงทุนซื้อทีม “การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค” ที่มีดีกรีแชมป์ไทยลีกฤดูกาล 2551 พร้อมทั้งกับเปลี่ยนชื่อเป็นทีมบุรีรัมย์ พีอีเอ
ทว่าในปี 2555 ได้มีการเจรจาใหม่อีกครั้ง เนื่องจากทีมบุรีรัมย์ เอฟซี ทีมร่วมจังหวัด ได้เลื่อนขึ้นมาเล่นบนลีกสูงสุด และเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ก็เกิดขึ้นอีกครั้งโดยการซื้อหุ้นของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั้งหมด พร้อมกับนำมาบริหารเอง และเปลี่ยนชื่อจากบุรีรัมย์ พีอีเอ เป็นบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และยังย้ายรังเหย้าจากสนามเขากระโดง มาเป็นสนามไอโมบาย สเตเดียม จนถึงปัจจุบัน
สโมสรบางกอกกล๊าส เอฟซี
บิ๊กทีมย่านสายรังสิต มหาอำนาจลูกหนังไทยอีกทีม ถ้าย้อนประวัติไปนั้น แต่เดิมก็คือสโฒสรธนาคารกรุงไทย ทีมที่เป็นที่รู้จักของแฟนบอลไทยเป็นอย่างดี ทว่าในปี 2552 นั้น เรียกว่าเป็นยุครอยต่อของวงการฟุตบอลไทยที่จะก้าวขึ้นสู่บอลอาชีพ ทำให้ทีมกรุงไทยไม่สามารถจนเป็นบริษัทเอกชนได้ ทำให้มีข่าวว่าจะยุบทีม ก่อนจะเป็นบางกอกกล๊าส ที่เข้ามาเทคโอเวอร์ขอรับหน้าที่ทำทีมส่งต่อจนถึงทุกวันนี้
ในส่วนของสนามก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน หลังจากเทคโอเวอร์มาจากกรุงไทย ก็ได้ย้ายจากสนามจุ๊บภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาทำการแข่งขันที่สนามลีโอ สเตเดียม รังสิต คลอง3 ทว่าในเกมแรกที่ใช้สนามนี้ แมตช์เสมอกับทีโอที เอสซี 1-1 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ปี 2552 นั้น ได้มีแฟนบอล เข้ามาชมกันแน่นเกินความจุ จนต้องมีการปรับปรุงสนาม ทำให้ต้องย้ายไปใช้สนามของมหาวิทยาลัยราชมงคล ธญบุรี คลอง 6 ชั่วคราว ก่อนจะกลับมาใช้ลีโอ สเตเดียมจนถึงปัจจุบัน
สโมสรสงขลา ยูไนเต็ด
นับย้อนไปปี 2009 ที่บุรีรัมย์ เอฟซี สามารถเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้นั้น ทำให้บุรีรัมย์ มีสองทีมที่เป็นเจ้าของเดียวกันเล่นอยู่บนลีกสูงสุด สุดท้าย เนวิน ชิดชอบ ได้ตัดสินใจที่โอนสิทธิ์ของบุรีรัมย์ เอฟซี นั้น ให้กับทีมสงขลา เอฟซี รับช่วงทำทีมต่อ
หลังจากนั้นในปี 2012 สโมสรสงขลา เอฟซี ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นบนลีกสูงสุด และได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อสโฒสรเป็นวัวชน ยูไนเต็ด ก่อนที่ในปีต่อมาจะเปลี่ยนมาใช้เป็นสงขลา ยูไนเต็ด ปัจจุบันวันชนแดนใต้ได้ร่วงลงไปเล่นในยูโร่ เค้ก ลีกโปร หรือไทยลีก 3 ในฤดูกาลหน้า
สโมสรศรีสะเกษ เอฟซี
ทัพกูปรีอันตราย เริ่มต้นส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในศึกโปรวินเชียลลีก (โตโยต้า ไทยลีกในปัจจุบัน) ภายใต้ชื่อ "ศรีสะเกษ สตีลร็อก" ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงชื่อสโมสรตามสปอนเซอร์กลุ่มนายทุนหลักเป็นส่วนใหญ่ เริ่มต้นจาก ศรีสะเกษ เมืองไทย เอฟซี ต่อด้วยอีสาน ยูไนเต็ด ที่ย้ายแข่งที่สนามในจ.อุบลราชธานี
ทว่าในปี 2556 ได้มีปัญหาในเรื่องของสิทธิ์ของการทำทีม ทำให้ต้องพักทีมเข้าร่วมการแข่งขันสุดท้าย ก่อนจะคืนสิทธิ์ให้ศรีสะเกษ และเปลี่ยนเป็นศรีสะเกษ เอฟซีในปัจจุบัน
สโมสรซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ
ทีมสุดท้ายคงจะไม่พูดถึงก็ไม่ได้ เรียกว่าเป็นทีมที่ชอบย้ายรังเหย้า พร้อมกับเปลี่ยนชื่อทีมเป็นว่าเล่น อย่างเดอะพาวเวอร์ ซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ หรือที่รู้จักกันในชื่อเก่าที่ว่า “พลังเอ็ม” โอสถสภา เอ็ม-150 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการย้ายรังเหย้าไปในหลายจังหวัดเนื่องจากไม่มีสนามเป็นของตัวอง รวมไปถึงต้องการที่จะสร้างฐานแฟนคลับต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นสนามในหมูบ้านธนารมย์ จ.ปทุมธานี, สนามอบจ. สระบุรี รวมไปถึงสนามราชมังคลากีฬาสถาน ก่อนที่ปัจจุบันจะใช้สนามเคหะบางพลี พร้อมกับชื่อใหม่เนื่องจากเปลี่ยนนายทุนเป็น ซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ
หลังจากนั้นก็เกิดปัญหาภายในมากมายโดยเฉพาะในเรื่องของการเงินที่เป็นปัญหาหลัก จนทำให้ผลงานออกมาไม่ดี จนต้องลงไปเล่นในลีกรองปีหน้า ทำให้เดอะพาวเวอร์ต้องหานายทุนใหม่อีกครั้งเพื่อให้ทีมได้อยู่รอดและส่งเข้าร่วมแข่งขันต่อไป ซึ่งในตอนแรกเป็นกลุ่มทุนจากสมุทรสาครที่จะเข้ามาเทคโอเวอร์ ทว่าดีลก็ล่ม
ก่อนที่ล่าสุด จะเป็นทางกลุ่มทุนจากมหาสารคาม ได้แถลงข่าวยืนยันจะเป็นคนที่ทำทีมเดอะพาวเวอร์ต่อไป และจะทำการเปลี่ยนชื่อเป็นจัมปาศรี ยูไนเต็ด และเตรียมย้ายรังเหย้าไปที่จังหวัดมหาสารคาม