ปิดฉากลงไปแล้วสำหรับรายการ เอเอฟเอฟ ยูธ แชมเปี้ยนชิพ หรือศึกชิงแชมป์ อาเซียน ยู22 โดยทีมชาติไทย นำโดยกุนซือ อเล็กซานเดร กามา สามารถทะลุเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศโดยไม่เสียประตูในโอเพ่นเพลย์เลย ก่อนจะถูกทีมชาติอินโดนีเซียซัด 2 ประตูแซงชนะ 2-1 คว้าแชมป์ไปครอง และนี้คือ 5 บทเรียนล้ำค่าจากทัวร์นาเมนต์อย่างเป็นทางการครั้งแรกของ อเล็กซานเดร กามา
กามา พาทีมาเข้าชิงได้เพราะแทคติกล้วนๆ (?)
สถิติ 12 แชมป์เล็กและใหญ่กับ 2 สโมสรตลอดระยะเวลาเพียง 4 ปีบนดินแดนฟุตบอลสยามก็น่าจะเป็นเครื่องการันตีฝีมือของ อเล็กซานเดร กามา ที่เพียงพอ หรือพูดง่ายๆ คือกุนซือรายนี้รู้คว้าแชมป์นั่นเอง
จริงอยู่ที่ทีมชุด ยู22 ไปไม่ถึงฝัน ทำได้เพียงเป็นรองแชมป์แต่เราก็เริ่มเห็นจุดเด่นของทีมจอมแทคติก เช่นเกมรับที่แข็งแกร่ง การโต้กลับอันรวดเร็ว รวมถึงลูกตั้งเตะที่ไว้ใจได้ ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะบางส่วนของฟุตบอลสไตล์ กามา ที่กวาดถ้วยรางวัลมาแล้วมากมาย น่าสนใจว่าจอมแทคติกชาวบราซิลเลียนจะสามารถพาเด็กรุ่นนี้ไปได้ไกลแค่ไหนเมื่อมีนักเตะตัวหลักในมือ
ศฤงคาร พรหมศุภะ (น่าจะ)มีอนาคตในแผนสู้ศึก เอเอฟซี ยู23 แชมเปี่ยนชิพ
รายการชิงแชมป์ ยู22 ที่ กรุงพนมเปญ ควรจะเป็นรายการทดลองนักเตะก่อนถึงทัวร์นาเมนต์ชิงแชมป์เอเชีย ยู23 ในปี 2020 ซึ่งนับเป็นรอบคัดฟุตบอลชาย โอลิมปิก ที่ กรุงโตเกียว ด้วย อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลการติดภาระกิจทีมชาติชุดใหญ่หรือสโมสรต้นสังกัด ทำให้นักเตะตัวหลักรุ่นนี้หลายคนของ (ของ ไทย และ เวียดนาม) ไม่ได้มาร่วมการแข่งขันด้วย
ในกรณีของ ทีมชาติไทย เรา จากรายชื่อ 38 คนที่ กามา เรียกไป มีเพียง 10 กว่าคนเท่านั้นที่ถูกปล่อยตัวมาร่วมทีม จนต้องหันไปหาตัวเลือกที่ 2 และ 3 รวมถึงการดันเด็ก ยู19 มาใช้ ทว่ามันก็ไม่หยุดยั้งแข้งตัวหลักอย่าง ศฤงคาร พรหมศุภะ ที่ยืนเป็นกำลังสำคัญ ช่วยประคองน้องๆ ในฐานะกัปตันทีมได้อย่างสง่าผ่าเผย เรียกได้ว่าชื่อชั้นของแนวรับวัย 21 ปีเป็นที่ยอมรับในหมู่แฟนบอลขึ้นมากเมื่อเทียบกับก่อนรายการนี้ และคงไม่แปลกหาก ศฤงคาร ยึดตำแหน่งตัวจริงในแผนการเตรียมทีมของ กามา
มาตรฐานฟุตบอลระดับเยาวชนของภูมิภาคอาเซียนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
นับตั้งแต่ปี 2001 ที่ ซีเกมส์ ปรับให้ฟุตบอลชายส่งทีมรุ่นอายุต่ำกว่า 23 ปี ทีมชาติไทย เราก็กวาดแชมป์ไปฝ่ายเดียวแล้วถึง 7 จาก 9 ครั้ง อย่างไรก็ดี หากความสำเร็จของ มาเลเซีย ในรายการ เอเชียนเกมส์ 2018 หรือการที่ทัวร์นาเมนต์นี้ เจ้าภาพ กัมพูชา สามารถทะลุถึงรอบรองชนะเลิศและ อินโดนีเซีย เป็นแชมป์ มันก็น่าจะหมายถึงมาตรฐานฟุตบอลเยาวชนที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องในย่านอาเซียน
แข้ง ยู19 พร้อมลุยข้ามรุ่น!
อยากที่เราทราบกันดีแม้พวกเขาจะเป็นถึงรองแชมป์แต่ทีมชุดนี้ก็ไม่ใช่ผู้เล่นกลุ่มที่ดีที่สุดของกามา
สัมพันธ์ เกษี, กฤษฏา นนท์รัตน์, สกุลชัย แสงโทโพธิ์ และตัวสำรอง กรวิชญ์ ทะสา คือนักเตะจากชุด ยู19 ของ โค้ชหระ อิสสระ ศรีทะโร แถมยังมี มาร์โค บัลลินี่ และ พัชรพล อินทนี วัย 20 ปี ที่มาเล่นทัวร์นาเมนต์ในนามทีมชาติเป็นครั้งแรก ซึ่งทั้งหมดได้ลงสนามในเกมรอบชิงชนะเลิศกับทีมชาติอินโดนีเซียที่เก๋าประสบการณ์กว่ามาก
มิดฟิลด์ตัวรุก สกุลชัย และวิงแบ็คขวา กฤษฏา ถือเป็นนักเตะ ยู19 ที่โชว์ฟอร์มได้โดนเด่น ทั้งคู่ออกสตาร์ทเป็นตัวจริงทุกนัดและแสดงถึงความกระหายในชัยชนะ ทำให้เชื่อได้ว่าพวกเขาเหล่านี้อาจพร้อมแล้วสำหรับการก้าวกระโดดมาแสดงฝีเท้าเคียงข้างแข็งรุ่นพี่ในเร็ววันนี้
เราอาจมีตัวเลือกในตำแหน่งศูนย์หน้ามากกว่าที่คิด
เจษฎากร ขาวงาม และ เจริญศักดิ์ วงษ์กรณ์ คือคู่ศูนย์หลักของ ไทย ตลอดรายการนี้ อย่างไรก็ตามหลายคนอาจลืมไปว่าที่จริง เจริญศักดิ์ นั้นไม่ได้เล่นกองหน้า แต่ยืนริมเส้นให้ต้นสังกัด สมุทรปราการ ซิตี้ เอฟซี และทางด้าน เจษฎากร ก็ไม่ได้มีชื่อใน 38 คนที่ กามา เรียกมาทีเรียกด้วยซ้ำ
แต่เมื่อโอกาสมาถึง ปีกอาชีพอย่าง เจริญศักดิ์ ก็ยกระดับตัวเองขึ้นมาเป็นศูนย์รวมเกมรุกทีมชาติไทยได้แบบไม่มีปัญหาด้วยความเร็วและการเคลื่อนที่ เชื่อมเกมอันเป็นทีเด็ดของเขา ในขณะที่ เจริญศักดิ์ ก็สร้างชื่อได้ด้วยทักษะเท้าซ้ายอันเหนือชั้น บวกกับลูกตั้งเตะที่เด็ดขาด คล้าย สรรวัชญ์ เดชมิตร ไอดอลของเขา
จากแข้งที่ค่อนข้างโนเนมและถูกตั้งคำถามพอสมควรในวงกว้าง วันนี้ เจษฎากร และ เจริญศักดิ์ ได้เบียดเข้ามาเป็นตัวเลือกตำแหน่งศูนย์หน้าทีมชาติไทยเรียบร้อยแล้ว หากทั้งคู่สามารถรักษาโมเมนตัมนี้ไปถึงระดับสโมสรได้ ก็คงเป็นข่าวดีสำหรับทีมชาติไทยในอนาคต
credit:@changsuek