กลายเป็นข่าวสุดช็อกทั่ววงการฟุตบอลญี่ปุ่น เมื่อ คอนซาโดเล ซัปโปโร เตรียมแต่งตั้ง มิไฮโล เปโตรวิช โค้ชมากฝีมือเข้ามาคุมทีมในฤดูกาล 2018 แทนที่ ชูเฮ โยโมดะ ที่สัญญาจะหมดลงหลังจบฤดูกาลนี้ ด้วยเหตุนี้ ฟุตบอลไทรบ์ ประเทศไทยจึงขอพาผู้อ่านไปรู้จักกับกุนซือรายนี้ให้มากขึ้นจากบทความนี้
กด Next หรือปัดหน้าจอไปทางขวา(ในโทรศัพท์) เพื่ออ่านหน้าต่อไป
1. ถือพาสสปอร์ตออสเตรีย
แม้จะถือกำเนิดที่ประเทศยูโกสลาเวีย (เดิม) ที่ส่วนหนึ่งแยกออกมาเป็นประเทศเซอเบีย และเคยค้าแข้งให้กับทีมดังของประเทศอย่าง เรด สตาร์เบลเกรด แต่ เปโตรวิช ก็ถือพาสสปอร์สออสเตรียเป็นหลัก เนื่องจากเคยไปสร้างชื่อกับ สตวร์ม กราซ ทีมดังของประเทศ และเคยมีโอกาสคุมทีมในช่วงปี 2003-2006 มาแล้ว
2. ลูกศิษย์อิวิกา โอซิม
สมัยเริ่มต้นชีวิตผู้จัดการทีมใหม่ๆ เปโตรวิช ได้มีโอกาสกลับมารับงานที่ สตวร์ม กลาซ อดีตทีมเก่าในฐานะกุนซือทีมสำรอง ซึ่งทำให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้งานจากกุนซือสตวร์ม กลาซชุดใหญ่ในตอนนั้นอย่าง อิวิกา โอซิม ที่กลายเป็นกุนซือทีมชาติญี่ปุ่นในเวลาต่อมา เชื่อกันว่าโอซิมคือแรงบันดาลใจให้เปโตรวิช ตัดสินใจเข้ามารับงานที่ญี่ปุ่น หลังจากอาจารย์ของเขาเคยมาคุมทีม เจฟ ยูไนเต็ด จิบะ ในช่วงปี 2003-2006
3. ประสบการณ์แน่นปีกในเจลีก
เปโตรวิช เริ่มงานในเจลีกครั้งแรกกับ ซานเฟรชเช ฮิโรชิมา ในปี 2006 และอยู่โยงคุมทีมยาวถึง 5 ปีจนถึงปี 2011 ผ่านงานคุมทัพมากกว่า 200 นัดทั้งในเจ1และ เจ2 ก่อนจะไปรับงานคุมทัพอุราวะ เรดส์ ตั้งแต่ช่วงปี 2012-2016 และเคยมีประสบการณ์พาทีมเข้าไปเล่นในศึกระดับทวีปอย่างเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกมาแล้วถึง 5 ครั้ง ทำให้เขาถือเป็นหนึ่งในกุนซือต่างชาติที่อยู่ในเจลีกมาอย่างยาวนานถึง 10 ปี
4. ชอบใช้แผน 3-6-1 เหมือน โยโมดะ
กุนซือชาวเซิร์บ นิยมแผนกองหลัง 3 คนมาตั้งแต่สมัยคุมทัพซานเฟรชเช เรื่อยมาจนมาถึง คุมทีมเรดส์ ยิ่งไปกว่านั้นการวางตัวของเขายังคล้ายกับ ชูเฮ โยโมดะ กุนซือ ซัปโปโร ในปัจจุบัน คือใช้แนวหลัง โดยมีกองกลางตัวรับ 2 คนคอยไล่บอล ส่วนเกมรุกจะเน้นการโจมตีจากด้านข้างจากวิงแบ็คเป็นหลัก โดยมีหน้าเป้าเพียงคนเดียว และวางกองกลางตัวรุกไว้เป็นตัวสนับสนุนในฐานะ Shadow Striker
5. ปรัชญาเน้นเกมรุกมากกว่ารับ
เนื่องจากการเป็นลูกศิษย์ของ อิวิกา โอซิม ทำให้เขาซึมซับปรัญญาฟุตบอลเน้นเกมรุกมาจากอาจารย์มาไม่น้อย จากสถิติคุมทัพอุราวะ เรดส์ 5 ฤดูกาล เขาทำให้ทีมกลายเป็น 1 ใน 3 สโมสรที่ยิงประตูมากที่สุดในลีกในหนึ่งฤดูกาลมาโดยตลอด โดยเฉพาะในปี 2013 ที่เรดส์ยิงไปได้ถึง 66 ประตู จาก 34 นัด มากที่สุดในลีก แม้ว่าปีนั้นทีมจะจบแค่ในอันดับ 6 ของตาราง และเสียไปถึง 56 ประตูก็ตาม
6. ชอบดึงนักเตะจากทีมเก่า
เปโตรวิช ถือเป็นขวัญใจของแฟนบอลซานเฟรชเช และอยู่โยงกับทีมยาวกว่า 5 ปีตั้งแต่ 2006-2011 อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ย้ายมาคุมทัพ เรดส์ ความรู้สึกของแฟนบอลซานเฟรชเช ก็เปลี่ยนไป เมื่อเขาทำแสบด้วยการดูดนักเตะตัวหลักของซานเฟรชเช ไปอยู่กับเรดส์ถึง 4 ราย เริ่มต้นจาก โทโมอากิ มาคิโนะ ในปี 2012 ตามมาด้วย เรียวตะ โมริวากิ ในปีถัดมา จากนั้นก็เป็นคิวของ ชูซาคุ นิชิซาวะ และ ทาดานาริ อี ในปี 2014 ซึ่งบางทีเราอาจจะได้เห็นนักเตะจากเรดส์มาเล่นที่ซับโปโรในฤดูกาลหน้าก็เป็นได้
7. ไม่นิยมนักเตะต่างชาติ
แม้ เปโตรวิช จะเป็นชาวต่างชาติ แต่มีเรื่องแปลกคือเขากลับไม่ค่อยชอบใช้นักเตะต่างชาติในฐานะตัวหลักของทีม โดยปกติแล้วเจลีกจะให้โควต้านักเตะต่างชาติ 3+1 คน แต่เรดส์ในสมัยที่เปโตรวิช คุมทัพกลับเลือกใช้นักเตะในตำแหน่งนี้เพียง 1-2 คนเท่านั้น แม้บางปีเรดส์จะส่งชื่อโควต้าต่างชาติเต็มครบ 3 คน แต่พวกเขาก็ทำได้เพียงแค่เป็นตัวสำรองเพียงเท่านั้น
8. ให้โอกาสนักเตะดาวรุ่ง
เปโตรวิช ขึ้นชื่อในการให้โอกาสนักเตะดาวรุ่งมาตั้งแต่สมัยคุมทัพ สตวร์มกลาซ จนมาคุมทีมในญี่ปุ่น เขาคือคนที่ปลุกปั้น โทโมอากิ มาคิโนะ, โยซุเกะ คาชิวางิ, โทชิฮิโร อาโอยามะ และ เรียวตะ โมริวากิ ให้ก้าวขึ้นมาเป็นนักเตะชั้นนำของประเทศสมัยคุมทัพ ซานเฟรชเช และเช่นเดียวกันกับที่เรดส์ เขาคือคนให้โอกาส ทาคาฮิโระ เซคิเนะ ตั้งแต่อายุ 18 ปี และก้าวขึ้นมาเป็นตัวหลักของทีมจนได้ไปค้าแข้งในเยอรมันกับ อิงโกสตัลด์
9. ราชารองแชมป์
แม้ว่า เปโตรวิช จะทำทีมได้อย่างน่าตื่นตาในสมัยคุมทัพ ซานเฟรชเช และ เรดส์ และมีโอกาสลุ้นแชมป์แทบทุกปี แต่เขาก็มักจะมาตกม้าตายในท้ายที่สุด ปี 2007 เขาสร้างเซอร์ไพร์ส ด้วยการพาซานเฟรชเช เข้าชิงชนะเลิศเอ็มเพอเรอร์สคัพ แต่ก็ทำได้เพียงแค่รองแชมป์ ก่อนที่ในปี 2010 เขาจะพาทีมเข้าชิงเจลีกคัพ แต่ก็ทำได้แค่ที่สองเช่นเคย แม้จะย้ายมาคุมทัพเรดส์ แต่อาถรรพ์ก็ยังไม่เปลี่ยน เมื่อสามารถพาทีมเข้าชิงเจลีกคัพในปี 2013 และ เอ็มเพอเรอร์สคัพ ในปี 2015 ซึ่งก็ได้เพียงแค่ตำแหน่งรองแชมป์ทั้งหมด แถมในปี 2016 เขาสามารถพาเรดส์พงาดคว้าแชมป์สเตจแรก และแชมป์ตารางคะแนนรวมเจลีก แต่กลับต้องมาพ่าย คาชิมา อันท์เลอร์ส ในบ้านตัวเองในเกมรอบแชมเปียนส์ชิฟนัดที่ 2 อย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี เขายังมีถ้วยติดมือมาบ้าง หลังพาเรดส์ผงาดคว้าแชมป์เจลีกคัพได้ในปี 2016